ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย


แหล่งรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลบุคลากรในแวดวงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทย รวมถึงสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการอาวุโสที่มีคุณูปการต่อการศึกษามานุษยวิทยาไทย คณาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักวิชาการและนักวิจัยประจำสถาบันวิชาการ ตลอดจนนักวิชาการอิสระ

| | | ฆ | | | | | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฎ | | ฑ | ฒ | | | | ถ | | | | | | | ฝ | | | | | | | ล | | | ษ | | | ฬ | | ฮ | ทั้งหมด

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (2563-2567) สนใจประเด็นวิชาการด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ และการศึกษาชุมชน ผลงานของ ดร.โกมาตร ก่อให้เกิดการผนวกรวมมุมมองทางมานุษยวิทยาเข้ากับการพัฒนานโยบายและการดำเนินงานด้านสุขภาพ หนึ่งในผลงานวิชาการที่สำคัญ คือ เครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก

สุเทพ สุนทรเภสัช

ผศ.ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช นักมานุษยวิทยาคนสำคัญของวงการมานุษยวิทยาไทย มีผลงานที่สำคัญ อาทิ ทฤษฎีชาติพันธุ์สัมพันธ์ รวมบทความทางทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ การจัดการองค์กรความสัมพันธ์ และรัฐประชาชาติ (2555), ทฤษฎีมานุษยวิทยา: พัฒนาการมโนทัศน์พื้นฐานและทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรม (2553)

อคิน รพีพัฒน์

ร้อยตำรวจเอก รองศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ศรีศักร วัลลิโภดม

อาจารย์ศรีศักรสนใจศึกษาแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน สามารถเขียนบทความและบรรยายได้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนในแอ่งอารยธรรมแห่งนี้ โดยใช้การแบ่งเขตตามสภาพภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางวัฒนธรรม และยังมีผลงานที่ได้รับการจัดพิมพ์อีกเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมานุษยวิทยา

อานันท์ กาญจนพันธุ์

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความสนใจและเชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ ทฤษฎีสังคมและการพัฒนา การจัดการทรัพยากรและการพัฒนา ระบบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดิน ชาติพันธุ์วิทยา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมชนบท ฯลฯ

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ

อดีตอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญในประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ มานุษยวิทยานิเวศน์, การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ

ฉลาดชาย รมิตานนท์

อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ จบการศึกษาด้าน Cultural Anthropology จาก Cornell University สหรัฐอเมริกา เป็นผู้บุกเบิกและผลักดันแนวคิดด้านสตรีศึกษาในประเทศไทย ผลงานที่สำคัญ อาทิ มานุษยวิทยากับการศึกษาการเมือง, มนุษย์: วัฒนธรรม อำนาจและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

พัทยา สายหู

ศาตราจารย์ ดร.พัทยา สายหู เป็นผู้ผลักดันให้ก่อตั้ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งทำให้องค์ความรู้วิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อาทิ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เพื่อวิจัยสังคมชนบทภาคกลาง เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของสังคมชนบทไทยจากสนธิสัญญาเบาริ่ง...

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล

อดีตอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีความสนใจในประเด็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ศิลปหัตถกรรม ชาติพันธุ์ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น