วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญและสนใจด้านวรรณกรรมนิทาน, วรรณกรรมท้องถิ่น, ความเชื่อ, ตำนานและพิธีกรรมในสังคมไทยร่วมสมัย, คติชนสมัยใหม่, การสืบทอดและการผลิตซ้ำวัฒนธรรม

545 views


ประวัติการศึกษา
  • 2557 : อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (คติชนวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2545 : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2541 : อักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อีเมลdistapan@yahoo.com
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจคติชนวิทยา, ตำนาน, คติชนสมัยใหม่, ความเชื่อ, วรรณคดีประเภทนิทาน, วรรณกรรมท้องถิ่นของไทย, ประเพณีและพิธีกรรมร่วมสมัย, เรื่องเล่าร่วมสมัย
CVดาวน์โหลด
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

บทความ

  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “อนุภาคน้ำเต้าในตำนานน้ำท่วมโลกและตำนานกำเนิดมนุษย์.” ภาษาและวรรณคดีไทย 18 (ธ.ค. 2544): 62-77.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “การแตกเรื่อง 2 ชั้น ในนิทานชุดสุวรรณสิรสา,” วรรณวิทัศน์ 5 (พ.ย. 2548): 40-67.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “วรรณกรรมเสี่ยงทาย “ศาสตรา”: ภูมิปัญญาของชาวใต้,” วรรณวิทัศน์ 7 (2550) : 39-86.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “ความเชื่อเรื่องพระอุปคุตปราบมาร: การสืบทอดและการผลิตซ้ำในสังคมไทยปัจจุบัน,” วารสารอักษรศาสตร์ ฉบับพิเศษ “คติชนสร้างสรรค์” ปีที่ 42 ฉ. 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2556): 219-258.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “ตำนานพระอุปคุตในสังคมไทย : การรับรู้ตำนานพระอุปคุตและความสับสนกับประวัติของพระสาวกรูปอื่น” วรรณวิทัศน์ ปีที่ : 13 (2556) : 1-27
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน “การสืบทอดและการผลิตซ้ำประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับพระอุปคุตในสังคมไทยปัจจุบัน” ใน ศิราพร ณ ถลาง, บรรณาธิการ".ประเพณีสร้างสรรค์" ในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558 : 109 – 189.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “วาทกรรมและบทบาทของนิทานในมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์.” วรรณวิทัศน์ 15(2558) : 273 – 318.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. “ขายหัวเราะ - มหาสนุก ฉบับในหลวงรัชกาลที่ 9: การ์ตูนกับการเทิดพระเกียรติและการแสดงความอาลัย”. วรรณวิทัศน์. 17 (พฤศจิกายน 2560) : 84 – 131.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. "เรื่องเล่าพญาเต่างอย: ตำนานหมู่บ้าน ข่าวหวยและเพลงอีสานป๊อบ "ใน กุสุมา รักษมณี,บรรณาธิการ. ภาษาสรร วรรณกรรมสาร เนื่องในวาระ 50 ปีภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562: 265 - 283.
  • Watcharaporn Distapan, “Phra Upakhut Midnight Almsgiving Ritual:The Reproduction of a Northern Thai Ritual in Central Thailand” RIAN THAI: INTERNATIONAL JOURNAL OF THAI STUDIES. VOL. 8/2014 : 257 – 283.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2564). หวาดกลัว กลัดกลุ้ม ปลุกปลอบ และปลดปล่อย: มองมนุษย์และสังคมไทยในสถานการณ์โรคระบาดผ่านการ์ตูนไทยในสื่อสังคมออนไลน์ เข้าถึงจาก https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/168
  • ศุภธัช คุ้มครองและวัชราภรณ์ ดิษฐป้าน.(2565) “สืบตำนาน สร้างงานประเพณีที่วัดทอง: กระบวนการสร้างสรรค์งานประเพณีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ชุมชนบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร”. วารสารศิลปศาสตร์. ปีที่ 22, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม -สิงหาคม 2565): 100-134.
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2566). “จาก “อีสป” ถึง “อีสัส”: นิทานกับการสร้างสรรค์วรรณกรรมแนวสาระบันเทิงชุดนิทานอีสัส” วารสารศิลปศาสตร์. 23,1 (มกราคม – เมษายน): 31-68.
  • จุฑารัตน์ รีฮุง และวัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2566). คติชนกับการสร้างสรรค์เนื้อหาในนวนิยายแนวสืบสวนสยองขวัญ ชุด การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ของอัยย์. วรรณวิทัศน์, 3(2), 127-169.

รายงานวิจัย

  • เกษม เพ็ญภินันท์, เสาวณิต จุลวงศ์, คำยวง วราสิทธิชัย,ม.ล., วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน, วิสาขา เทียมลม, กุลชาติ ทักษไพบูลย์และคณะ. (2563). รายงานการวิจัย โครงการรวบรวมและจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ประเพณี 12 เดือนอีสาน”. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน . (2565). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “วรรณกรรมชุดนิทานอีสัส: คติชนกับการให้ความรู้ด้านการแพทย์และสุขภาพในสังคมยุคดิจิทัล” (ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภททั่วไปจากกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2563)

หนังสือ

  • วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. แบบเรื่องนิทานสังข์ทอง: การแพร่กระจายและความหลายหลาก. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผู้ร่วมงานอื่นๆ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
ศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.arts.chula.ac.th/folklore/
คณาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://arts.tu.ac.th/teacherlarts