นฤมล อรุโณทัย

อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจและเชี่ยวชาญในเด็นวิชาการเกี่ยวกับมานุษยวิทยาชนเผ่า เผ่าทางทะเลกับการอนุรักษ์และต่อชุมชน พัฒนาการท่องเที่ยวและผลกระทบ ฯลฯ


2010 views | ชาติพันธุ์


ประวัติการศึกษา

ปริญญาเอก

Ph.D. (Anthropology) University of Hawaii,U.S.A.

ตำแหน่งทางวิชาการอาจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจมานุษยวิทยาชนเผ่า, เผ่าทางทะเลกับการอนุรักษ์และต่อชุมชน, พัฒนาการท่องเที่ยวและผลกระทบ
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

หนังสือ

นฤมล อรุโณทัย. (2543). ชีวิตพวกเราชาวทะเล We, the sea people ก่ามอย ออลางมอแกน กามี่ อูรักลาโว้ย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล อรุโณทัย, บรรณาธิการ. (2557). ทักษะวัฒนธรรมชาวเล : ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นฤมล อรุโณทัย และประไพพิศ โอฬารวัฒน์. (2549). แบบเรียน ก. ไก่ ฉบับมอแกน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล อรุโณทัย, สุพิณ วงศ์บุษราคัม และดิเรก อีไลอัส. (2549). ชุมชนมอแกนและอูรักลาโว้ยกับพื้นที่คุ้มครอง. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

โอลิเวียร์ แฟร์รารี และคณะ. (2549). คลื่นแห่งความยุ่งยากบนเกาะพระทอง. สาลินี ศลกิจวาณิชย์กุล และคณะ, ผู้แปล. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

งานวิจัย

นฤมล อรุโณทัย. (2541). ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรม : รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการประเมินสถานภาพไทศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นฤมล อรุโณทัย. (2543). ใน อานันท์ กาญจนพันธุ์, บรรณาธิการ. พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากร : สถานการณ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

บทความ

กุณฑี สว่างวงศ์ธรรม และนฤมล อรุโณทัย. (2556). “ชุมชนทางเลือก : กรณีศึกษาอาศรมวงศ์สนิท” ใน วารสารวิจัยสังคม, 36 (2), หน้า 99-136.

นฤมล อรุโณทัย. (2556). “สู่สังคมที่มีเยื่อใยในการอยู่ร่วมกัน การสังเคราะห์ความเป็นวัฒนธรรมในมิติสังคม-วัฒนธรรม-ชุมชน” ใน สู่ชีวิตที่ดีกว่าเดิม : รายงานสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมทางสังคม พ.ศ. 2554-2555. กรุงเทพฯ : ศยาม.

นฤมล อรุโณทัย. (2558). “ความเสี่ยงและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของชุมชนพื้นเมืองในบริบทป่าและทะเลในประเทศไทย” ใน วารสารวิจัยสังคม, 38 (1), หน้า 1-33.

นฤมล อรุโณทัย, พลาเดช ณ ป้อมเพชร และจีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์. (2551). “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นชาวเลเพื่อสร้างพลังชุมชนชาวเล” ใน วารสารวิจัยสังคม, 31 (1-2), หน้า 56-83.

นฤมล อรุโณทัย และคณะ. (2554). “วาทกรรมช่องว่างการจัดการเหมืองแร่ : มุมมองที่แตกต่างกับผลกระทบการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน” ใน วารสารวิจัยสังคม, 34 (1), หน้า 82-133.

โครงการที่สำคัญ

- โครงการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และประวัติศาสตร์บอกเล่า ภายใต้โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กรณีชุมชนริมคลองอัมพวาและชุมชนบวรรังสี (2547)

- โครงการจัดทำแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมชุมชนและการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่พิบัติภัยสึนามิ (2548)

- โครงการฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนมอแกน/มอแกลน/อูรักลาโว้ยหลังสึนามิ (2548)

- โครงการสำรวจทางเลือกอาชีพและการส่งเสริมอาชีพของชาวอูรักลาโว้ยในภูเก็ต (2549)

- โครงการศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล (2549)

- โครงการศึกษาจัดทำเอกสารพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (2550)

- โครงการศึกษาความรุนแรงต่อผู้หญิงภายหลังเหตุการณ์สึนามิ (2550)

- โครงการวิจัยการดำเนินชีวิตครอบครัวของครอบครัวที่ประสบภัยสึนามิ (2550)

ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
หัวเรื่องหลักชาติพันธุ์
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)