กษมาพร แสงสุระธรรม

นักวิจัยและภัณฑารักษ์ในแวดวงศิลปะร่วมสมัยที่ใช้วิธีวิจัยทางชาติพันธ์ุวรรณาในการทำความเข้าใจพิพิธภัณฑ์และโลกศิลปะ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษด้านการบริการจัดการพิพิธภัณฑ์ รวมถึงศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

29 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

ประวัติส่วนตัว

กษมาพร แสงสุระธรรม ภัณฑารักษ์อิสระ จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และปริญญาโทสาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กษมาพรอาศัยวิธีวิจัยทางชาติพันธ์ุวรรณาในการทำความเข้าใจโลกศิลปะ เธอสนใจประเด็นเรื่องการเมืองวัฒนธรรมและการเมืองอัตลักษณ์ โดยเฉพาะการที่กรอบคิดทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นมุมมอง ความคิด และความเชื่อที่ส่งอิทธิพลต่อวิธีคิดทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมทั้งในบริบทของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

งานเขียนและงานวิจัยของเธอครอบคลุมประเด็นที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างทางศิลปะในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตลักษณ์ทางศิลปะทั้งศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย วาทกรรมว่าด้วยความเป็นชาติและการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น “การก่อร่าง (ภาพ) “ความเป็นไทย” ในศิลปะสมัยใหม่”, “กว่าจะมาเป็น “ศิลปินล้านนา”: ศิลปะและอัตลักษณ์ของศิลปินในโนโลกศิลปะไทย”, “อันหาที่เปรียบมิได้: แนวเรื่องเล่าว่าด้วยฮวน ลูน่า จิตรกรฟิลิปิโนในศตวรรษที่ 19”, และ “ถ้าศิลปะไม่เป็นการเมืองแล้วจะเป็นอะไรได้: สุนทรียะของความเป็นการเมืองในศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นต้น

สำหรับผลงานด้านภัณฑารักษ์ กษมาพรเป็นหนึ่งในภัณฑารักษ์ร่วมในนิทรรศการ ปาตานี ร่วมสมัย: นิทรรศการศิลปะจากภูมิภาคปาตานี ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ และอิลฮัม แกลเลอรี กัวลาลัมเปอร์ (2017-2018) และภัณฑารักษ์ร่วมในนิทรรศการ ปฏิบัติการศิลปะไทยร่วมสมัยใน “รอยแยก" ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2019) ภัณฑารักษ์นิทรรศการ “คราส” โดยประสงค์ ลือเมือง ณ JWD Art Space (2023) ปัจจุบันกษมาพรเป็นอาจารย์พิเศษ ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นหนึ่งในภัณฑารักษ์ของ Waiting You Curator Lab

ประวัติการทำงาน

  • 2563-ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษหลักสูตรการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาที่บรรยาย: การจัดการพิพิธภัณฑสถานและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม การออกแบบนิทรรศการ, มานุษยวิทยาสำหรับบริหารงานวัฒนธรรม
  • 2559-2563 : อาจารย์ประจำหลักสูตรการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 2553-2557 : อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ประวัติการศึกษา
  • 2553 : ปริญญาโทสาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 2549 : ปริญญาตรีสาขาวิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ตำแหน่งทางวิชาการอาจารย์
อีเมลksmpss@gmail.com
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจมานุษยวิทยาศิลปะ, การเมืองอัตลักษณ์, การสร้างภาพตัวแทน, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ผลงานวิชาการที่สำคัญ
  • 2566 “ดิถีของประสงค์ ลือเมือง: ศิลปะ ตัวตน และอัตลักษณ์” ใน สูจิบัตรนิทรรศการ คราส โดยประสงค์ ลือเมือง. กรุงเทพฯ: JWD Art Space
  • 2565 “The Iconic Treasure” ใน Bangkok Art Auction Center, Bangkok. (write an artwork caption)
  • 2563 “ถ้าศิลปะไม่เป็นการเมืองแล้วจะเป็นอะไรได้: สุนทรียะของความเป็นการเมืองใน ศิลปะ ร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ใน หนังสือรวมบทความจากการประชุมวิชาการเวที
 วิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 11 “เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์”, 5-35. บรรณาธิการโดย ถนอม ชาภักดี, ชาติชาย มุกสง, และนันทนุช อุดมละมูล. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์. (5-35)

  • 2562 “Almanac 2019 Survey: Thailand” in Art Asia Pacific Almanac 2019, volume 14.
  • 2561 “Patani Contemporary Art World: Rethinking the interaction between two worlds” In PATANI SEMASA: An Exhibition on Contemporary Art from the Golden Peninsula, edited by Kasamaponn Saengsuratham, Napak Serirak, Kittima Chareeprasit, and Rahel Joseph, 92-113. Kuala Lumpur: IB Tower Gallery Sdn Bhd.
  • 2561 อันหาที่เปรียบมิได้: แนวเรื่องเล่าว่าด้วยฮวน ลูน่า จิตรกรฟิลิปิโนในศตวรรษที่ 19. ใน ทวีศักดิ์ เผือกสม, บรรณาธิการ หนังสือรวมบทความเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 9 ปัญญาชน ศีลธรรม และภาวะสมัยใหม่: เสียงของมนุษยศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์. (259-297)
  • 2559 “การจัดแสดง "สมบัติของชาติ" ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติฟิลิปปินส์”. ใน อิสระ ชูศรี, บรรณาธิการ. พิ(ศ)พิธภัณฑ์ บทความเลือกสรรจากงานประชุมวิชาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
  • 2558 “อันหาที่เปรียบมิได้”: แนวเรื่องเล่าว่าด้วยฮวน ลูน่า จิตรกรฟิลิปิโนในศตวรรษที่ 19. ชุมทางอินโดจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม-ธันวาคม.
  • 2558 ในนิยามความเป็นไทย : ศิลปะจากปัตตานี ในเวทีการประกวดศิลปกรรมไทย พ.ศ. 2549-2558. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558)
  • 2558 “ข่าวอาเซียน: การนำเสนอวัฒนธรรมในหนังสือพิมพ์ออนไลน์”. ใน เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ และ อิสระ ชูศรี, บรรณาธิการ. วัฒนธรรมสมัยนิยม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • 2555 กว่าจะมาเป็น “ศิลปินล้านนา”: ศิลปะและอัตลักษณ์ของศิลปินในโนโลกศิลปะไทย. วารสาร สังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)
  • 2555 การก่อร่าง (ภาพ) “ความเป็นไทย” ในศิลปะสมัยใหม่ ใน สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, บรรณาธิการ. วิธีวิทยารื้อสร้างอัตลักษณ.์ กรุงเทพฯ: โครงการตัวตนคนยองกับท้องถิ่นล้านนา โครงการทุน วิจัยมหาบัณฑิตสังคมศาสตร-์ มนุษยศาสตร์. 55-112
  • 2554 “การเมืองของการนําเสนอภาพ “ความเป็นล้านนา” ในงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย” ใน “มอง” “คน” “สะท้อน” “โครงสร้าง” รวมบทความจากวิชาการจากวิทยานิพนธ์ โครงการ บัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์ ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ และ พรทิพย์ เนติภารัตนกุล, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)