อนุชิต สิงห์สุวรรณ

อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม สนใจและเชี่ยวชาญในประเด็น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ประวัติศาสตร์การเมืองของผู้มีสถานะรอง (Subaltern Studies), ประวัติศาสตร์การเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในภาคอีสาน, การเมืองเชิงวัฒนธรรม, การจัดการทางวัฒนธรรม

169 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ต.นาราชควาย อ.เมือง จ.นครพนม

ประวัติการศึกษา
  • 2562 : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • 2554 : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 2549 : ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตำแหน่งทางวิชาการอาจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันสาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
อีเมลlocalpower0225@gmail.com
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ประวัติศาสตร์การเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในภาคอีสาน, การเมืองเชิงวัฒนธรรม, การจัดการทางวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์การเมืองของผู้มีสถานะรอง
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

ผลงานทางวิชาการ

  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2567). "เกย์และกะเทยในพิธีกรรมบูชาพญานาค: การศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของศาสนาชาวบ้านในสังคมชนบทอีสาน". ใน ร่างทรงเกย์ หมอดูกะเทย สบงหลากสี: ความหลากหลายทางเพศในศาสนาและพิธีกรรมสมัยใหม่, บรรณาธิการ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ปีเตอร์ เอ. แจ็คสัน และวิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2566). "ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครพนมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน". วารสาร Lawarath Social E-Journal 5,2: 111-134
  • กมลวรรณ กานกายัน, กัญลยา มิขะมา, อนุชิต สิงห์สุวรรณ และคมกฤษณ์ ชูเรือง. (2566). “การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอัตลักษณ์พื้นที่ของอ้าเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม”. วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. 2, 3: 9-16
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2564). "จาก ‘ผีบุญ’ ถึง ‘คนเสื้อแดง’: ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้คนในภาคอีสาน" ใน การประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2565 มหาวิทยาลัยนครพนม, บรรณาธิการ อัมพร ธำรงลักษณ์. นครพนม: สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 342-361
  • สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์ และ อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2564). "การพัฒนารูปแบบเว็บแอปพลิเคชั่นส่งเสริมกระบวนการ สื่อความหมายเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนม". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 12,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 322-334
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ และทวีศักดิ์ เผือกสม. (2563). "จาก 'เจ้าปู่' ถึง 'พญาศรีสุทโธโพธิสัตว์': การปรับเปลี่ยนจักรวาลวิทยาในความเชื่อเรื่องพญานาคของผู้คนคำชะโนด". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 11,1 (มกราคม-มิถุนายน): 146-175
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2562). "สำนักหออาสนะคำพญาศรีสุทโธนาคราช: ชุมชนพิธีกรรมของผู้คนที่คำชะโนด" ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13 ภูมิภาคนิยม และท้องถิ่นนิยมสมัยใหม่ในโลกไร้พรมแดน, บรรณาธิการ กิตติพงษ์ ประพันธ์. มหาสารคาม: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตรกรรม (สกสว.) และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 279-295
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ และ ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2560). "ละครโทรทัศน์นาคี ตำนานร่างจุติ: การสร้างตัวตนของชาวอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี". ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 11 เปิดโลกสุนทรีย์ ในวิถีมนุษยศาสตร์ , บรรณาธิการ ถนอม ชาภักดี และคณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 493-507
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ, สิริยาพร สาลีพันธ์ และ คณิน เชื้อดวงผุย. (2559). "การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนอย่างยั่งยืนในการเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน กรณีศึกษาบ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม". วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 8,4 (ตุลาคม-ธันวาคม): 66-83

โครงการวิจัย

  • 2568 : หัวหน้าโครงการ "ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ : ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของเทือกเขาภูพาน และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์" (ปีที่ 2) สนับสนุนโดยทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
    การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
  • 2567 : หัวหน้าโครงการ การประยุกต์ใช้เรื่องเล่าพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ในพื้นที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สนับสนุนโดยทุนวิจัยสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund; FF) จัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • 2567 : หัวหน้าโครงการ "ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ : ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของเทือกเขาภูพาน และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์" สนับสนุนโดยทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
    การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
  • 2565 : ผู้ร่วมโครงการนวัตกรรมด้านสังคม "นาหว้าพาเลาะ: นวัตกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น 5 ชนเผ่าชุมชนนาหว้า" สนับสนุนโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ปี 2565
  • 2565 : หัวหน้าโครงการวิจัย "ลัทธิพิธีบูชาพญานาค: การศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนทางศาสนาของกลุ่มเกย์ และกะเทยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย" ทุนวิจัยโครงการวิจัย ศาสนา กับสุขภาวะของเกย์ กะเทย ชายรักชาย Buddhism and Gay Kathoey Wellbeing ภายใต้การสนับสนุนโดย The Australian Research Council
  • 2563 : หัวหน้าโครงการวิจัย "การศึกษาแนวทางการจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์ ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม" สนับสนุนโดยกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี
  • 2563 : ผู้ร่วมโครงการวิจัย "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเมืองนครพนมเพื่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศในการส่งเสริมการท่องเที่ยว" สนับสนุนโดยกองทุนวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • 2557 : หัวหน้าโครงการวิจัย "การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนอย่างยั่งยืน ในการเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน กรณีศึกษาบ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม" ทุนสนับสนุนโดยฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
  • 2557 : หัวหน้าโครงการวิจัย "การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบริเวณเมืองโบราณเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย" ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.)
  • 2556 : หัวหน้าโครงการวิจัย "การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในแอ่งสกลนครผ่านตำนานพระธาตุพนม" ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

วิทยานิพนธ์

  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2562). อีสานนาคา: คติความเชื่อเรื่องพญานาคกับการเมืองของผู้มีสถานะรอง กรณีศึกษาชุมชนคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
  • อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2553). ประวัติศาสตร์อีสาน พ.ศ. 2475 ถึงสิ้นทศวรรษ 2520. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผู้ร่วมงานอื่นๆ

ข้อมูลอ้างอิง

มหาวิทยาลัยนครพนม. (ม.ป.ป). ข้อมูลบุคลากรสายวิชาการ สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาสาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. https://flas.npu.ac.th/web/