ฐิติรัตน์ เวทย์ศิริยานันท์

จุดเริ่มต้นในการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นสายใยเชื่อมโยงความรู้ด้วยการศึกษาจิตวิทยา เพื่อที่จะได้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ จากนัั้นจึงได้ศึกษาสังคมวิทยา เพื่อทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคม พร้อมไปกับการศึกษามานุษยวิทยา เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์หลากหลายมิติ ชีวิตของมนุษย์ที่มีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสังคมได้อย่างราบรื่น

470 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน
  • 2566 : ที่ปรึกษาจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้า “ผ้าไหมสาเกต” กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
  • 2564 : นักวิจัยรางวัลเชิดชูเกียรติ “รางวัลผู้มีผลงานจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ” คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด : โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น เรื่อง “การพัฒนาและใช้โปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพาในการประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่น กรณีศึกษา บ้านสำราญ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด” สนับสนุนโดย สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (TSRI : สกสว.) และได้มอบลิขสิทธิ์โปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพา (Samrun Food Bank : SFB) ในการประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่น กรณีศึกษา บ้านสำราญ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • 2563 : ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม Thailand – Japan Environmental Solutions Week 14 – 16 January 2020 at the Berkeley Hotel Pratunam in Bangkok. จัดโดย Ministry of the Environment Government of Japan
  • 2563 : ผู้พิจารณาคุณภาพบทความวิชาการ วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 2560 : ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนา และสนับสนุนความเข้มแข็งของขบวนองค์กรชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์กรมหาชน) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • 2560 : ผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิชาการ) ในคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดร้อยเอ็ด กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • 2562 : ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม Capacity Building Programme on Developing Project Propasals for Climate Change Adaptation an The Green Climate Fund Simplified Approval Process held from 13 - 17 May 2019 in Bangkok, Thailand จัดโดย Asian Institute of Technology, Asia – Pacific Network for Global Change Research, Ministry of the Environment Government of Japan and Climate Change Asia
  • 2562 : คณะทำงานการจัดทำข้อมูลคำขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้า “ผ้าไหมสาเกต” จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ล่ามแปลภาษา และให้การต้อนรับท่าน Dasho Tashi, Deputy Lord Chamberlain Queen’s Project Office, His Majesty’s Secretariat, Bhutan เยี่ยมชมกลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าม่วง และพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2562
  • ล่ามแปลภาษา และนำเสนอการทำงาน OTOP ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ท่าน Dasho Tashi, Deputy Lord Chamberlain Queen’s Project Office, His Majesty’s Secretariat, Bhutan ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพัฒนาท้องถิ่นและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP” ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2562
  • 2554 - 2556 : ทุนสนับสนุนการศึกษาโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาระดับปริญญาเอก แหล่งทุน : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
  • 2554 : ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม “International Fellowship Program” sponsored by Gansu Provincial People’s Government from, the Introduction of Chinese Culture in the School of International Cultural Exchange,: (September 6th to October 26th 2011) จัดโดย Lanzhou University, P.R. China
  • 2551 : ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม Capacity Building in Conflict Management for Isaan จัดโดย American Embassy Bangkok
ประวัติการศึกษา
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาการพัฒนา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) (จิตวิทยาและการแนะแนว) เกียรตินิยมอันดับสอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำแหน่งทางวิชาการอาจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
อีเมลttitiratana6@gmail.com, titiratana.reru.ac.th
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจกลุ่มชาติพันธุ์, จิตวิทยาสังคม, มานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรม, ความเชื่อและศาสนา, การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์, การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ, ธุรกิจเพื่อสังคม
CVดาวน์โหลด
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

โครงการวิจัย

  • 2566 : ผู้ร่วมวิจัย, โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนในมิติวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนท่าม่วงและชุมชนเซินเหนือ” ภายใต้โครงการวิจัย การเสริมสร้างศักยภาพทางวัฒนธรรมสู่นวัตกรรมชุมชนเพื่อความยั่งยืน ปีที่ 2 โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • 2566 : ผู้ร่วมวิจัย, การพัฒนาโมเดลแก้จนอำเภอในพื้นที่ลุ่มน้ำชีด้วยแนวคิด เกษตรพามี สุขภาพดีพาอยู่ : Development of a model to solve poverty in the area of the Chi Rivers basin with the concept of “ Agriculture brings wealth and good health.” ภายใต้โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • 2566 : ผู้ร่วมวิจัย, การส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด
  • 2566 : หัวหน้าโครงการวิจัย การจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้าผ้าไหมสาเกต
  • 2563 : หัวหน้าโครงการวิจัย, โครงการวิจัยการพัฒนา และใช้โปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพาในการประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่น กรณีศึกษา บ้านสำราญ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งทุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)
  • 2563 : ผู้ร่วมวิจัย, โครงการวิจัยการพัฒนาการศึกษาด้านเศรษฐกิจพอเพียงและยกระดับรายวิชาศึกษาทั่วไป เรื่อง ศาสตร์พระราชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สู่ศตวรรษที่ 21 : ฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวางพื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

วิทยานิพนธ์

  • 2557 : ปริญญาเอก “การสร้างความหมายพระพิฆเนศในสังคมอีสานสมัยใหม่” THE MEANING CONSTRUCTION OF THE GANESHA IN MODERN ISAN SOCIETY
  • 2545 : ปริญญาโท “ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์” BELIEF IN THE REVERED MONITOR LIZARD AND WAYS OF LIFE OF “KUI” IN BAN TRUEM, AMPHOE SRIKHORAPHUM, CHANGWAT SURIN

บทความวิชาการ

  • 2558 : “จากอินเดียสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเดินทางของพระพิฆเนศ” วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2558)
  • 2555 : The Meaning Construction of the Ganesha in Modern Thai Society : Social Change and Cultural Transformation in Globalizing Thailand : The University of the Ryukyus’s Research Program “ Human Migration and 21st Century Global Society” 10 February 2012 to 15 February 2012
  • 2559 : “Brahmin, Monk, Astrologer, Medium : The Transition of the Master of Ritual of Lord Ganesha In Isan” Asian Culture and History Journal : Vol.8,No.1 in March 2016
  • 2559 : “Sexual Identity Formation of the Transgender in a Cultural Practice Community : A Case Study of the Ganesh Chaturthi Ceremony” Social Sciences Journal issue TSS 11 (4) 2016
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)