บัณฑร อ่อนดำ

อดีตนักสังคมวิทยา นักวิชาการอาวุโส และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2515-2523) ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 สภามาหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีมติให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑร อ่อนดำ เป็นผู้เหมาะสมที่จะได้รับปริญญา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาสังคมวิทยา) ประจำปีการศึกษา 2555

174 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา : ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย, ประธานกรรมการศูนย์ต่อสู้เอาชนะยาเสพติดภาคประชาชนแห่งชาติ (ศตส. ภาคประชาชน), กรรมการมูลนิธิสภาวัฒนธรรมแห่งเอเซีย (Asia Culture Forum on Development- ACFOD), กรรมการมูลนิธิการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น, กรรมการสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี สภาความมั่นคงแห่งชาติ, กรรมการมูลนิธิประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้, กรรมการมูลนิธิชุมชนไท, ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), ที่ปรึกษาองค์กรชาวบ้านเพื่อการพัฒนาภาคอีสาน, ที่ปรึกษาโครงการยุติธรรมและสันติ, ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน

พ.ศ. 2536 - 2544 : คณะทำงาน Focus on the Global South สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ประสานงาน Asia Culture Forum on Development (ACFOD) กรุงเทพฯ, อาจารย์พิเศษ นักวิชาการอิสระ และที่ปรึกษาเครือข่ายองค์กรประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มวลชนสัมพันธ์ บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

พ.ศ. 2534 - 2536 : ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาชนบทภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน), ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาชนบท (กป.อพช.ส่วนกลาง)

พ.ศ. 2533 - 2534 : นักวิจัย โครงการป่าไม้ (ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง-หัวหน้าโครงการ)

พ.ศ. 2529 - 2532 : ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกลุ่ม โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรขนาดเล็ก (Small Farmers’ Participation Project- SFPP)

พ.ศ. 2527 - 2528 : นักวิชาการอิสระ, ผู้จัดการมูลนิธิประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ (Grassroot Rural Integrated Development- GRID), นักวิชาการด้านการประเมินผลแบบมีส่วนร่วม โครงการพัฒนาชนบทภาคอีสาน 1 องค์การอนุเคราะห์เด็ก

พ.ศ. 2523 - 2527 : สภาคริสตจักรแห่งเอเซีย (Christian Conference of Asia-CCA) ฮ่องกง

พ.ศ. 2515 - 2523 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์บัณฑรเป็นอาจารย์ประจำคณะฯ ในช่วงที่ “แผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา” อยู่ระหว่างการแยกออกมาเป็นแผนกอิสระ นอกจากการสอนในห้องเรียนแล้ว อาจารย์ยังได้พานักศึกษาออกเรียนรู้สังคมภายนอก ทั้งในภาคเมืองและชนบท อีกทั้งยังมีส่วนอย่างสำคัญในการดำเนินงาน โครงการบัณฑิตอาสาสมัครที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนับสนุนกิจกรรมงานพัฒนาของนักศึกษากลุ่มต่างๆ

แม้ว่าหลังปี พ.ศ.2523 อาจารย์จะไม่ได้สอนในมหาวิทยาลัยโดยตรง แต่ก็ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ด้านสังคมวิทยาชนบทเข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญในการสนับสนุนวิชาการด้านการพัฒนาสังคมของประเทศ คุณูปการของอาจารย์บัณฑรที่ได้ใช้เวลาเกือบทั้งหมดของชีวิตอุทิศให้กับการทำงานกับชาวบ้านผู้ทุกข์ยากเดือดร้อนทั้งในชนบทและเมือง จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคมไทยและต่างประเทศ เป็นแบบอย่างที่ดีของครูผู้ทุ่มเทให้ความรู้กับศิษย์โดยไม่ยึดติดว่าต้องสังกัดองค์กรสถาบันใด

ในช่วง พ.ศ. 2530-2540 เป็นยุคที่องค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาทมากในการทำงานในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล และสะท้อนปัญหาชนบท เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข อาจารย์บัณฑรเป็นทั้งนักวิชาการและนักพัฒนา ที่ริเริ่มแนวทางการทำงานใหม่ๆ และฝึกฝนคนรุ่นใหม่ให้ทำงานร่วมกับชาวบ้าน และผู้ยากลำบากด้วยความอุตสาหะ หลังจากนั้น อาจารย์ยังคงทำงานในตำแหน่งสำคัญในองค์กรพัฒนาหลายองค์กรอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์บัณฑรได้ชื่อว่าเป็นนักวิชาการของประชาชน ที่ไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้าง ท่านมีส่วนเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการนักพัฒนาอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ ที่มุ่งมั่นออกไปทำงานเพื่อให้คนยากคนจนในสังคมไทยได้ลืมตาอ้าปากขึ้นมายืนอย่างมีศักดิ์ศรี ร่วมสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีปณิธานที่จะทำงานรับใช้สังคมต่อไป

ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566

ประวัติการศึกษา
  • พ.ศ. 2514 : ปริญญาโท สาขาสังคมวิทยาชนบท มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Rural Sociology, Cornell University)
  • พ.ศ. 2508 : ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจสังคมวิทยาชนบท
ผลงานวิชาการที่สำคัญ
  • อมรา พงศาพิชญ์ และคณะ. (2544). ระบบและกลไกเพื่อการบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนา : การสังเคราะห์ภาพรวมองค์กรกองทุนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2542). ระบบเศรษฐกิจพอเพียง : ประสบการณ์จากองค์กรพัฒนาเอกชน ใน รับวิกฤติโลกปี 2000 เศรษฐกิจยั่งยืน. กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2542). มิติทางวัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง: ข้อค้นพบจากรณีศึกษา ใน มิติทางวัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง : รายงานการสัมมนา วันที่ 17 ธันวาคม 2542 ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2540). บทบาทองค์กรพัฒนาเอกชนในการปฏิรูประบบสุขภาพ : รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2539). รูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่โดยเน้นบทบาทของชุมชนและระบบกลไกของรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว., และคนอื่นๆ. (2533). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบท : ประสบการณ์ของประเทศไทย How to develop the small farming sector : case of Thailand แปลและเรียบเรียงโดย บัณฑร อ่อนดำ และ วิริยา น้อยวงศ์ นยางค์. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • ติสสา พลสุริยะ. (2527). าทหลวงศรีลังกามองสังคมไทย แปลโดย บัณฑร อ่อนดำ. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการ สภาคาทรอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา
  • ทอมมัส, เอ็ม.เอ็ม. (2526). ต้านทรราช แปลจาก Response to tyranny โดย บัณฑร อ่อนดำ. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยา
  • ไฮม์, เอฟ., จี., อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว., และเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2524). คู่มือนักพัฒนา : วิธีทำงานกับเกษตรกร แปลโดย บัณฑร อ่อนดำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • ฟรัง ซัวส์ ฮูตาร์ท. (2524). ศาสนากับสังคมเอเชีย แปลโดย บัณฑร อ่อนดำ และ เสรี พงศ์พิศ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
  • ชาลส์ อาร์. อาวีลา. (2522). เมื่อชาวนาฟิลิปปินส์พูด แปลจาก Peasant theololgy reflections by the Filipino peasants on their process of social revolution โดย บัณฑร อ่อนดำ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสงรุ่งการพิมพ์
  • สุมิตร ปิติพัฒน์, บัณฑร อ่อนดำ และพูนสุข ธรรมาภิมุข. (2521). ลาวโซ่ง : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อิสไซห์ เบน-เดสัน. (2520). ยิวกับญี่ปุ่น แปลจาก The Japanese and the Jews โดย บัณฑร อ่อนดำ. กรุงเทพฯ : ดวงกมล
  • ปีเตอร์ จี. กาววิ่ง. (2518). โมโรและแขก. ฐานะของชาวมุสลิมในฟิลิปปินส์และไทย แปลโดย บัณฑร อ่อนดำ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโมลคีมทอง
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2546). การพัฒนาต้องอยู่บนรากฐานของสิทธิมนุษยชน. วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 24, ฉบับที่ 61 (ม.ค./เม.ย. 2546), หน้า 11-13
  • วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน และบัณฑร อ่อนดำ. (2526). สหกรณ์การเกษตร : มองจากทัศนะในเชิงรัฐศาสตร์และสังคมวิทยา. วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 12, เล่มที่ 2 (มิ.ย. 2526), หน้า 97-103
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2518). หมู่บ้านกับการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่น. จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2(2518), หน้า 43-48
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2518). ศาสนากับการเมืองวิเคราะห์ขบถผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ. 121. จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2(2518), หน้า 35-42
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2517). บุญและอำนาจในสังคมไทย. จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1(2517), หน้า 28-35
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2517). สังคมวิทยาและศาสนาในประเทศไทย. จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1(2517), หน้า 36-38
  • บัณฑร อ่อนดำ. (2517). ระบบการเมืองในสิบสองปันนา : การศึกษาอาณาจักรของพวกลื้อในมณฑลยูนนานประเทศจีน โดยการศึกษาแบบ etnohistory. จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1(2517), หน้า 20-27
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผู้ร่วมงานอื่นๆ

แหล่งอ้างอิง

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

https://socanth.tu.ac.th/