สมหมาย ชินนาค

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สนใจประเด็นวิชาการเรื่อง การจัดการทรัพยากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ มรดกร่วมทางวัฒนธรรมในลุ่มน้ำโขง ชายแดนและภาวะการข้ามแดน

1149 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

สมหมาย ชินนาค สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศนียบัตร (ภาษาและวัฒนธรรมเขมร) จากมหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเป็ญ พระราชอาณาจักรกัมพูชา ในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความสนใจเรื่องงานพัฒนาและปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากจะออกค่ายอาสาพัฒนาในพื้นที่ชนบทตามป่าดอยต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงแล้ว ยังได้ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครสอนภิกษุสามเณรชาวเขา ณ วัดศรีโสดา บริเวณเชิงดอยสุเทพ รวมทั้งได้ชักชวนเพื่อนๆและน้องๆ จัดตั้ง “ชมรมศึกษาปัญหาเพื่อการพัฒนา” และได้รับตำแหน่งประธานชมรมเป็นคนแรก ต่อมาระหว่างศึกษาในชั้นปีที่ 3 ก็สามารถสอบรับทุน “ส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประจำปี 2533” ของทบวงมหาวิทยาลัย (ปีแรกที่จัดตั้งทุนนี้ขึ้น) และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2534 ณ สถาบันภาษาและวัฒนธรรม (ต่อมาคือคณะศิลปศาสตร์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และได้บุกเบิกเปิดสอนหลักสูตรวิชาโทอินโดจีนศึกษา และมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตรปริญญาโทสาขาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา และได้รับเป็นประธานหลักสูตรด้วย

สมหมาย ชินนาค เป็นนักมานุษยวิทยาที่มีความสนใจประเด็นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, มรดกร่วมทางวัฒนธรรมในลุ่มน้ำโขง และชายแดนและภาวการณ์ข้ามแดน ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ฉะนั้นผลงานวิจัยและผลงานวิชาการต่างๆจึงเน้นการศึกษาวิจัยในประเด็นที่สนใจในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเป็นสำคัญ ซึ่งปรากฎในผลงานวิจัยไม่ต่ำกว่า 10 เรื่อง และบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 20 เรื่อง ประกอบกับมีทักษะด้านภาษาเขมร (พูด อ่าน เขียน) จึงเคยทำหน้าที่สอนภาษาเขมรในระดับปริญญาตรีด้วย รวมทั้งยังทำหน้าที่ในการประสานงานกับกัมพูชาในด้านวิชาการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นมหาเสนา (สูงสุดอันดับที่ 2) แห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อปี 2564

สมหมาย ชินนาค เคยได้รับรางวัล/โล่เกียรติคุณดังนี้ เหรียญเรียนดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2533 ใบประกาศเกียรติคุณเยาวชนดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ปี 2533 ใบประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่นภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในงานครบรอบ 50 ปี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โล่เกียรติคุณอาจารย์ดีเด่น สาขารับใช้สังคม ของสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2564

สมหมาย ชินนาค เป็นนักมานุษยวิทยาที่ไม่ถนัดด้านงานบริหาร ทว่าก็พอมีประสบการณ์ด้านการบริหารดังนี้ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา (2557-ปัจจุบัน) รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย (2547-2549) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ (2547) รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการชุมชน (2545-2546) รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (2544) หัวหน้าสาขาสังคมศาสตร์ (2556-2557) และรองประธานสภาคณาจารย์ (2535)

สมหมาย ชินนาค เป็นนักมานุษยวิทยาที่ไม่ได้สอนวิชามานุษยวิทยาโดยตรง เนื่องจากหน่วยงานที่สังกัดไม่มีหลักสูตรหรือรายวิชานี้โดยตรง จึงอาศัยการแทรกเนื้อหา แนวคิดและทฤษฎีด้านมานุษยวิทยาเข้าไปในตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ เช่น เช่น สังคมและวัฒนธรรมกลุ่มประเทศอินโดจีน กลุ่มชาติพันธุ์ในอินโดจีน มรดกร่วมทางวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับสังคมโลก ภาวะสมัยใหม่และการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำโขงกับการพัฒนา ชนบทและกระบวนการกลายเป็นเมือง ปรัชญา ศาสนาและความเชื่อในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ชาติ ชาติพันธุ์และการพัฒนา แนวทางการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ การศึกษาอิสระ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังประยุกต์งานภาคสนาม (field study) มาใช้เป็น “กิจกรรมในรายวิชา” ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายวิชาเกี่ยวกับอาณาบริเวณศึกษา (area study) ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยกิจกรรมในรายวิชาที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่ภาคสนามข้ามแดนในประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก็คือ “Mekong Field Study For MA. Students” สำหรับนักศึกษาปริญญาโท และ “Mekong Development Field Study (MDFS)” สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

ประวัติการศึกษา
  • Certificate (Khmer Language and Cultures), Royal University of Phnom Penh, Cambodia, 1996
  • มน.ม. สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2539)
  • วท.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่ (2534)

ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อีเมลsommai.c@ubu.ac.th
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจการจัดการทรัพยากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, มรดกร่วมทางวัฒนธรรมในลุ่มน้ำโขง, ชายแดนและภาวะการข้ามแดน
CVดาวน์โหลด
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

งานเขียนตำราและหนังสือ

  • สมหมาย ชินนาค. (2565). คำเพียร ชินนาค: ชีวิตและบทบาทของผู้หญิงชนบทในครอบครัวเขมรสุรินทร์. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
  • สมหมาย ชินนาค และคณะ. (2565). บริการสุขภาพข้ามแดนในจังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียงในเขตอีสานใต้ การศึกษาสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ชายแดนประเทศต้นทาง (กัมพูชาและ สปป.ลาว). เชียงใหม่: วนิดาเพรส.
  • สมหมาย ชินนาค. (2564). หอมอยู่มิรู้หาย: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์บางส่วนเสี้ยว จากคำบอกเล่าของสามัญชน ๕ แผ่นดินที่ชื่อ “หอม ชินนาค”. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
  • สมหมาย ชินนาค และ กาญจนา ชินนาค. (2563). มิงกะลาบาเมืองอุบล: ชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในพื้นที่ที่อยู่ไกลจากเส้นพรมแดนรัฐชาติ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

งานวิจัย

  • สมหมาย ชินนาค และคณะ. (2564). การศึกษาสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพของพื้นที่ชายแดนประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาว. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  • สมหมาย ชินนาค และกาญจนา ชินนาค. (2563). ชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่ากับการกลายเป็นชายแดนของชุมชนที่อยู่ไกลจากเส้นพรมแดนรัฐชาติ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  • สมหมาย ชินนาค. (2563). กลุ่มชาติพันธุ์เขมร ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

บทความทางวิชาการ

  • สมหมาย ชินนาค กาญจนา ชินนาค และ ณัฐมน ชินนาค (2567). พระพุทธศรีประทายสมันต์ : การค้นพบและการรับรู้ของชาวสุรินทร์” ใน ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โดย คณะกรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์)
  • สมหมาย ชินนาค กาญจนา ชินนาค และ ณัฐมน ชินนาค (2567). พระพุทธศรีประทายสมันต์: กับการสร้างสายสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา” ใน ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โดย คณะกรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์)
  • สมหมาย ชินนาค และกาญจนา ชินนาค (2566). “พม่าพลัดถิ่น” : การก่อตัวของชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดอุบลราชธานี” ใน วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2566) หน้า 640-665. (วารสารในฐาน TCI 1)
  • สมหมาย ชินนาค และกาญจนา ชินนาค (2566). บริการสุขภาพข้ามแดนในเขตอีสานใต้ท่ามกลางสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้องของประเทศต้นทาง (กัมพูชาและ สปป. ลาว)” ใน วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566) หน้า 128-157. (วารสารในฐาน TCI 1)
  • สมหมาย ชินนาค และคณะ (2564). “สถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้องกับบริการด้านสุขภาพของประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาว ในฐานะปัจจัยผลักดันที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์บริการสุขภาพข้ามแดนในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงในเขตอีสานใต้” ใน รวมบทความนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ ม.อบ. วิจัย ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2564. หน้า 424-437.
  • สมหมาย ชินนาค และกาญจนา ชินนาค (2563). การสร้างพื้นที่มรดกร่วมวัฒนธรรมอาเซียน: มองผ่านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสองฟากฝั่งพนมดองแร็ก (ดงรัก) กรณี “ปลา” กับ “เกลือ” ใน วารสารวิจัยวัฒนธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 9-38.
  • สมหมาย ชินนาค และกาญจนา ชินนาค (2562). “ยางพารากับวาทกรรมการสร้างชาติและความทันสมัยของสปป.ลาว ภายใต้บริบทการเปลี่ยนผ่านจากรัฐสังคมนิยมไปสู่รัฐหลังสังคมนิยม” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2(กรกฎาคม- ธันวาคม 2562) หน้า 323-346. (TCI ฐาน 1)
  • Sommai Chinnak and Kanjana Chinnak. (2022). “The Traditional Burial Rites of Kreung Ethnic Group in Northeast Cambodia: Some Perspective from Anthropological View Point” Paper presented at the International Colloquium on “The Importance, Sacred Landscape and Value-Based Management of the Ahom Moidams of Charaideo in Assam (India)” 10-12 March 2022, Sivasagar, Assam, India.
  • Laksanee Boonkhao and others. (2022). “Challenges in Cross-Border Health Services in Thailands Government Hospitalsin International Journal of Arts Humanities and Social Sciences Studies, 7(2), 65-72.
ผลงานวิชาการ (PDF)ดาวน์โหลด
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)