เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนใจในประเด็น มรดกวัฒนธรรมศึกษา พิพิธภัณฑ์ศึกษา การอนุรักษ์ชุมชนเมือง ผลงานวิชการ อาทิ บทวิเคราะห์ พ.ร.บ.ว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้, อนุสัญญาเพื่อการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพ (Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage), The urban development and heritage contestation of Bangkok’s Chinatown

2190 views | พิพิธภัณฑ์


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

ประวัติการทำงาน

  • ม.ค. 60 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มิ.ย.54 - ธ.ค.59 อาจารย์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
  • ส.ค.57 - พ.ค.58 อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ต.ค.52 - 2556 อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ต.ค.47 - ต.ค.49 อาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ต.ค.43 - ส.ค.47 ผู้ช่วยวิจัยหน่วยวิจัยทางผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บริการวิชาการ

  • 2558, วิทยากร เรื่อง “ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 30 สิงหาคม.
  • 2558, วิทยากร เรื่อง “พิพิธภัณฑ์ในงานอนุรักษ์ชุมชน” โดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ9 มิถุนายน.
  • 2557, อาจารย์พิเศษ วิชาออกแบบสถาปัตยกรรม 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาคการศึกษา 2/2557.
  • 2557, วิทยากร เสวนาถอดบทเรียนการฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าในประเทศไทย โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมาธิการสถาปนิกชุมชน ณ หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่11- 12 ธันวาคม.
  • 2556, วิทยากร เรื่อง “ข้อคิดจากอุทกภัย 2554 ในการวางแผนรับมือภัยพิบัติ” ในงานสัมมนาทางวิชาการ “คนในกระแสนา/งบ 3.5 แสนล้าน: สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร จากนาท่วม” โดย สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี10 กันยายน.
ประวัติการศึกษา

2554 Ph.D. (Urban Engineering) The University of Tokyo

2544 สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2541 สถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันสาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อีเมลtiamsoon@gmail.com
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจมรดกวัฒนธรรมศึกษา, พิพิธภัณฑ์ศึกษา, การอนุรักษ์ชุมชนเมือง
CVดาวน์โหลด
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

งานวิจัย

  • 2564-2565 โครงการศึกษาหนังใหญ่และความเป็นไปได้ในการขอขึ้นทะเบียนในบัญชีการปกป้องคุ้มครองอันเป็นตัวอย่างที่ดี ทุนกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [สกสว.])
  • 2560-2561, โครงการ “การเมืองมรดกวัฒนธรรมในกระบวนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมืองเก่าเชียงใหม่” ทุนวิจัยเงินกองทุนวิจัยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • 2560-2562, โครงการ “สร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” สนับสนุนโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 1 พฤศจิกายน 2560 – 31 สิงหาคม 2561.
  • 2558, โครงการ “ปริทัศน์สถานภาพความรู้ เรื่องความเหลื่อมล้ำในเมืองท่องเที่ยว” ภายใต้ชุดโครงการวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำของคนจนเมือง สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • 2012-2013, Interpretation of the Second World War shared-heritage at Nakhonnayok, Grant for Japanese-related Research Project, The Sumitomo Foundation, May 2012 – April 2013.

ผลงานตีพิมพ์

  • 2561, “คน(หาย)ในงานมรดกวัฒนธรรม” ใน สุรกานต์ โตสมบุญ และ อรพินท์ คำสอน (บรรณาธิการ) หนังสือรวมบทความวิชาการ “อดีต ตัวตน กับความจริงแท้ของชาติพันธุ์ ศิลปะ และโบราณคดี” หน้า 51-83 สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ ร่วมกับ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  • 2561, (ร่วมกับ ดร.กฤษณะ แพทย์จะเกร็ง) “ปริทัศน์สถานภาพความรู้ เรื่องความเหลื่อมล้ำในเมืองท่องเที่ยว” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน หน้า 41-69.
  • 2556, “บทวิเคราะห์ พ.ร.บ.ว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 39 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม หน้า 148-153.
  • 2555, “ข้อคิดจากอุทกภัย 2554 เพื่อการวางแผนรับมือภัยพิบัติ” วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ถอดบทเรียน น้ำท่วม สังคมไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 หน้า 1-22.
  • 2555, “อนุสัญญาเพื่อการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพ (Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage)” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน หน้า 118 – 125.
  • 2553, (ร่วมกับ Dr.Natsuko Akagawa) “ความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย” ในวารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับเดือนสิงหาคม-กันยายน หน้า 104 – 113.
  • 2549, (ร่วมกับ Dr.Natsuko Akagawa) “Setting ในระบบการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย” รายงานการประชุมสองทศวรรษอิโคโมสไทย: การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเส้นทางสู่กฎบัตรประเทศไทย25-26 พฤศจิกายน โดย อิโคโมสไทย หน้า 124 – 133.
ผลงานวิชาการ (PDF)ดาวน์โหลด
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
หัวเรื่องหลักพิพิธภัณฑ์
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)