โสวัตรี ณ ถลาง

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนใจประเด็นวิชาการ มานุษยวิทยาวัฒนธรรม , มานุษยวิทยาเมือง , ทฤษฎีมานุษยวิทยา , การจัดการความขัดแย้ง, การวิจัยเชิงคุณภาพ, พัฒนาสังคม

2131 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

วิชาที่สอน

  • มานุษยวิทยาวัฒนธรรม
  • แนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยา
  • ชนกลุ่มน้อย
  • การอ่านทางมานุษยวิทยา
  • การเขียนเชิงวิชาการทางมานุษยวิทยา
  • แนวคิดทางวัฒนธรรมในการพัฒนา
  • มานุษยวิทยาเมือง
  • องค์กรประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการความขัดแย้งในชุมชน
  • ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการความขัดแย้ง
  • ชาติพันธุ์วิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ/วิทยากร ภายในมหาวิทยาลัย

  • ประธานกรรมคณะการดำเนินงานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ที่ปรึกษากองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บรรณาธิการวารสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ/วิทยากร ภายนอกมหาวิทยาลัย

  • กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและผลงานทางวิชาการภายนอกมหาวิทยาลัย
  • คณะกรรมการวิชาการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
  • กองบรรณาธิการวารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ประวัติการศึกษา

2542 Ph.D. (Anthropology) Macquarie University, Australia

2537 สม.ม. (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2532 ศศ.บ. (ภาษาฝรั่งเศส) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อีเมลfsocstn@ku.ac.th, sowatree.n@ku.th
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจวัฒนธรรมศึกษา, มานุษยวิทยาเมือง, ชาติพันธุ์วิทยา, ทฤษฎีมานุษยวิทยา, มานุษยวิทยาวัฒนธรรม, การจัดการความขัดแย้ง, พัฒนาสังคม, วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
CVดาวน์โหลด
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

บทความ

  • โสวัตรี ณ ถลาง. 2546. “วิธีการทางมานุษยวิทยากับการศึกษาสังคมเมือง” ในวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 29 กรกฎาคม – ธันวาคม 2546 หน้า 1-10.
  • โสวัตรี ณ ถลาง.2549. “วัดญวนในประเทศไทย” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 31. กรุงเทพ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. หน้า 33-65.
  • โสวัตรี ณ ถลาง.2549 “นิเวศวิทยาวัฒนธรรมในมิติของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 33 กันยายน – ธันวาคม 2549 หน้า 50-65.
  • โสวัตรี ณ ถลาง สุดารัตน์ รอดบุญส่ง. 2552. “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมความเข้มแข็งในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนของจังหวัดสระบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 หน้า 51-61.
  • โสวัตรี ณ ถลาง. 2551. บทวิจารณ์หนังสือ วิถีแห่งดุลยภาพ (Gesture of Balance). วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 30 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551.
  • โสวัตรี ณ ถลาง. 2553. บทวิจารณ์หนังสือ เหมืองฝาย จัดการน้ำ จัดการคน บทพื้นฐานภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม (Water Management: Irrigation System in Chiangmai-Lampoon),2552 . วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ หน้า 302-306 (KASETSART JOURNAL: SOCIAL SCIENCES), ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค.53 (Volume 031, Issue 2, May 10 - Aug 10, Page 302 – 306).
  • โสวัตรี ณ ถลาง กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้ สุดารัตน์ รอดบุญส่ง. 2556. “มิติวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 39 ฉบับที่1 หน้า 37-55.
  • โสวัตรี ณ ถลาง สุพรรณี วราทร. 2556. วัดญวน. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 19.กรุงเทพ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. หน้า 66-127.
  • โสวัตรี ณ ถลาง และคณะ. 2559. การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านจัดสรรในเมือง กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านไปรษณีย์นิเวศน์ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร”. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ม.ค.-มิ.ย.59. หน้า 133-164.
  • โสวัตรี ณ ถลาง. 2561.“วัฒนธรรมเมืองในพื้นที่ชายของของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2. หน้า 89-123.
  • Sowatree Nathalang. 2019. “Urban Middle Class and the Quality of Life Development: The Case Study of Northern and Western Outskirts of Bangkok and Periphery”. Journal of Social Development (JSD) Vol. 21 No.1 (2019): April 2019. Pp.167-185.
  • โสวัตรี ณ ถลาง. 2562. “จากชุมชนชานเมืองสู่ความเป็นเมืองทุนนิยม กรณีศึกษา พื้นที่นนทบุรี”. วารสารมานุษยวิทยา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. หน้า 149-190.
  • โสวัตรี ณ ถลาง. 2566. “สถานะองค์ความรู้เมืองนิเวศและวิถีเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะทุนทางสังคมท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19”. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การพัฒนา. ปีที่ 25 ฉบับที่ 1. หน้า 20-45.

ประสบการณ์วิจัย

  • นักวิจัยโครงการวิจัยเรื่อง “ร้อยปีคลองรังสิต” ในวโรกาสกาญจนาภิเษก, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ต.ค. 37 - มิ.ย. 39
  • นักวิจัยโครงการวิจัยเรื่อง “สภาวะการใช้ที่ดินและสภาวะเศรษฐกิจสังคมในเขตป่าภูหลวง -วังน้ำเขียว จ. นครราชสีมา – ข้อมูลหมู่บ้านคลองสะท้อน ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา” (JIRP#2) สนับสนุนงบประมาณโดยโครงการ TUCED - SLUSE ม.เกษตรศาสตร์. ต.ค 44 - มี.ค 2545
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่อระบบนิเวศวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม” สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. มี.ค. 47 - พ.ค. 48
  • นักวิจัยโครงการวิจัยเรื่อง โครงการประเมินและสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้การวิจัยวัฒนธรรมในประเทศไทย – งานวิจัยกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. พ.ค.48
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมความเข้มแข็งในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนของจังหวัดสระบุรี” สนับสนุนงบประมาณโดย เครือข่ายวิจัยภาคกลางตอนบน. พ.ค.50-พ.ค.51
  • นักวิจัยโครงการวิจัยและฐานข้อมูลเรื่อง “นักมานุษยวิทยาและสถาบันทางมานุษยวิทยาในประเทศไทยและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” สนับสนุนงบประมาณโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ต.ค.50 - เม.ย.51
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “มิติวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี” สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ประจำปีงบประมาณ 2553
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อการศึกษาเครื่องมือทางสังคมและรูปแบบความร่วมมือของชุมชนในการจัดการตลาดชุมชน” สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ส.ค.53 - มี.ค.54
  • หัวหน้าคณะวิจัยกลุ่มกทม.เหนือ “โครงการวิจัยชุมชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร” สนับสนุนงบประมาณโดยกรุงเทพมหานครและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ก.ค.54 - มี.ค.55
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์โครงการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการดำเนินการโครงการอุทยานสวนจตุจักร. สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. ส.ค. 55
  • ที่ปรึกษาโครงการวิจัยรูปแบบการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดสวัสดิการสังคม. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พ.ย.55-ต.ค.56
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมเมืองในพื้นที่ชายขอบของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปีงบประมาณ 2559
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “สถานะองค์ความรู้เมืองนิเวศและวิถีเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะทุนทางสังคมท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19” สนับสนุนงบประมาณโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565

ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผู้ร่วมงานอื่นๆ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

ฐานข้อมูลคณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

http://soc-ant.soc.ku.ac.th/index.php/staff/lectur...